แหล่งเรียนรู้อำเภอสามชุก

1. ห้องสมุดประชาชนอำเภอสามชุก

                      
ประวัติการจัดตั้งห้องสมุดประชาชนอำเภอสามชุก 
          ห้องสมุดประชาชนอำเภอสามชุกเริ่มก่อตั้งเมื่อสงครามโลกครั้งที่ 2 โดยนายสวัสดิ์ จินดาอินทร์ ดำเนินการของบจัดสร้างจากสภาจังหวัดสุพรรณบุรี และเงินสมทบจากประชาชน ประมาณ 16,000 บาท ณ บริเวณเยื้องที่ว่าการอำเภอทางทิศใต้   ภายหลังห้อวสมุดประชาชนหลังดังกล่าวชำรุดทรุดโทรมจึงได้ย้ายไปอยู่ที่อาคารสถานีอนามัย บริเวณปากทางเข้าอำเภอสามชุก เมื่อปี พ.ศ. 2495 ซึ่งสถานีอนามัยดังกล่าวได้ยกอาคารให้เป็นสมบัติของห้องสมุดประชาชนอำเภอสามชุก จนกระทั่ง พ.ศ.2528 นายอุทัย อนันตสมบูรณ์ ซึ่งเป็นนายอำเภอสามชุกสมัยนั้น เห็นว่าอาคารห้องสมุดนั้นมีสภาพทรุดโทรม และคับแคบประกอบกับอยู่ชิดทางจราจรไม่สะดวกต่อผู้มาใช้บริการ จึงประชุมร่วมกับหัวหน้าส่วนราชการและประชาชนอำเภอสามชุกดำเนินการจัดสร้างห้องสมุดหลังใหม่ขึ้นบริเวณที่ราชพัสดุ  หน้าที่ว่าการอำเภอสามชุก ริมฝั่งแม่น้ำท่าจีน โดยมีนายแพทย์สมศักดิ์ เศรษฐกร เป็นประธานกรรมการจัดหาเงินสมทบจำนวน 106,007 บาท กรมการศึกษานอกโรงเรียนจัดสรรงบประมาณเพิ่มเติมให้อีก 493,993 บาท รวมเป็นเงิน 600,000 บาท ซึ่งดำเนินการก่อสร้างจนแล้วเสร็จ และกระทำพิธีเปิดอาคารเมื่อวันที่ 9 เมษายน พ.ศ.2530 โดยนายอารีย์ วงศ์อารยะ ผู้ว่าราชการจังหวัดสุพรรณบุรีในสมัยนั้นเป็นประธาน  ต่อมาในปี พ.ศ. 2542 อำเภอสามชุกมีความประสงค์จะปรับเปลี่ยนภูมิทัศน์บริเวณรอบอาคารที่ว่าการอำเภอและบริเวณใกล้เคียง ซึ่งห้องสมุดปรคะชาชนเป็นส่วนราชการที่ต้องขยับขยาย ในปี พ.ศ. 2544 กรมการศึกษานอกโรงเรียนจึงได้จัดสรรงบประมาณเพื่อดำเนินการก่อสร้างอาคารหลังใหม่ ซึ่งตั้งอยู่ริมคลองชลประทาน หน้าโรงเรียนสามชุกรัตนโภคาราม จำนวน 1,440,000 บาท ร่วมกับเงินสมทบที่ประชาชนร่วมกันบริจาคอีกจำนวน 100,000 บาท รวมเป็นเงินทั้งสิ้น 1,540,000บาท ดำเนินการจัดสร้างจนแล้วเสร็จและได้ย้ายมาปฏิบัติงาน เมื่อวันที่ 1 มิถุนายน พ.ศ. 2544

การให้บริการต่างๆ
งานบริการของห้องสมุดประชาชน
      * ห้องสมุดเปิดบริการประชาชนทุกเพศ ทุกวัย ให้ศึกษา ค้นคว้าได้ตาม อัธยาศัย
      * บริการให้อ่านหนังสือและสื่อสิ่งพิมพ์ต่าง ๆ
      * บริการจัดฉาย วีดีโอ ซีดี และสารคดีเพื่อความบันเทิง
      * บริการสืบค้นข้อมูลจาก Internet
      * บริการให้ยืมสื่อ สื่อสิ่งพิมพ์ สื่ออิเล็กทรอนิกส์ ด้วยโปรแกรม PLS
การสมัครสมาชิก
       1. สำเนาบัตรประชาชน จำนวน 1 ใบ
        2. รูปถ่าย 1 นิ้ว จำนวน 1 ใบ
       3. เงินค่าสมัคร จำนวน 30 บาท (ปัจจุบันไม่เสียค่าสมัครสมาชิก) 
ระเบียบการยืม – คืน หนังสือ
      1. แสดงบัตรสมาชิกทุกครั้งที่ยืม
      2. ยืมครั้งละไม่เกิน 4 เล่ม / อาทิตย์
      3. ส่งเกินกำหนดปรับวันละ 2 บาท / 1 เล่ม
     4. หากทำหนังสือหายให้ชดใช้ตามราคาหนังสือ
ระเบียบการใช้อินเตอร์เน็ต
     1. แสดงบัตรสมาชิกทุกครั้งที่ใช้บริการ
     2. ลงชื่อในสมุดก่อนใช้บริการ
     3. ใช้ได้ไม่เกิน 1 ชม./ ครั้ง / คน / วัน
     4. ไม่บริการเกมส์ยกเว้นเกมส์เศรษฐี และห้ามเปิด เว็ปไซต์ลามก เว็บโป๊
     5. ห้ามนำแผ่นดิสก์ ซีดี แฟรชไดส์ หรือโปรแกรมต่างๆ มาใช้กับคอมพิวเตอร์




2. ตลาดร้อยปีสามชุก
   
ประวัติตลาดร้อยปีสามชุก
                  เมื่อประมาณปี พ.ศ. 2378 มหากวีผู้ยิ่งยงแห่งสยาม สุนทรภู่ล่องเรือผ่านชุมชนค้าขายแห่งหนึ่งริมแม่น้ำท่าจีนท่านภู่บันทึกความทรงจำ ถึงการเดินทางครั้งนั้นไว้ในโคลงนิราศสุพรรณว่า ลูกสาวคนสุดท้องของขุนจำนงจีนารักษ์
                  นึกนามสามชุกถ้า ป่าดง                     เกรี่ยงไร่ได้ฟ่ายลง แลกล้ำ
           เรือค้าท่านั้นคง คอยเกรี่ยง เรียงเอย         รายจอดทอดท่าน้ำ นับฝ้ายขายของฯ
           โคลงสี่สุภาพบทดังกล่าวแสดงให้เห็นถึงความรุ่งเรืองในอดีตของสามชุกตั้งแต่สมัยกรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้นเป้นอย่างดี สามชุกดำรง สถานะเมืองท่าสำคัญริมแม่น้ำท่าจีนเรื่อยมา จนกระทั่งประมาณปี พ.ศ. 2520 การตัดถนนสาย 340 กรุงเทพฯ - สุพรรณบุรี ชัยนาท สำเร็จเสร็จสิ้น พร้อมกับลมหายใจของสามชุกที่ค่อยๆ แผ่วลงจนเกือบจะหยุดนิ่งเพราะการคมนาคมทางน้ำไม่มีความจำเป็นอีกต่อไป  หลังจากการตัดถนนสาย 340 ตลาดสามชุกซบเซาลงอย่างมาก เศรษฐกิจชุมชนย่ำแย่ จากที่เคยเป็นชุมทางค้าขายสำคัญริมแม่น้ำท่าจีนกลับเงียบเหงาจากเคยมีโรงแรม 2 แห่ง ธนาคารต่างๆ มาเปิดสาขาถึง 7 แห่ง กลายเป็นว่าบางวันมีคนนอกชุมชนเข้ามาในตลาดไม่ถึง 20 คน จนกรมธนารักษ์ซึ่งเป็นเจ้าของที่ดินตัดสินใจจะรื้อตึกแถวไม้ที่มีอายุร่วมร้อยปีทิ้ง และจะสร้างตึกแถวแบบอาคารพาณิชย์สมัยใหม่ขึ้นมาแทน   จนประมาณปี พ.ศ. 2544 ก่อนที่กรมธนารักษ์จะลงมือรื้อบ้านเรือนเก่าๆ มูลนิธิชุมชนไหทได้เข้ามาช่วยเสนอชื่อชุมชนตลาดสามชุกให้เป็น 1 ใน 12 เมืองปฏิบัติการชุมชนและเมืองน่าอยู่โดยสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพหรือ สสส. โดยเงื่อนไขของโครงการคือการสร้างคตวามรู้สึกมีส่วนร่วมกับชุมชน โดยจะได้งบประมาณสนับสนุนจาก สสส. ปีละ 1,500,000 บาท เป็นเวลาสามปี ซึ่งตอนนี้การดำเนินงานของคณะกรรมการพัฒนาตลาดสามชุกก็ได้ใช้เงินจากการบริจาคของนักท่องเที่ยวในการ ดำเนินกิจกรรมต่างๆ เช่น กิจกรรมอร่อยดีที่สามชุก ซึ่งจัดเป็นประจำทุกปี ช่วงเดือนธันวาคม การจัดอบรมมัคคุเทศน์น้อย ประจำพิพิธภัณฑ์ขุนจำนงจีนารักษ์ การปลูกฝังจิตสำนึก ในท้องถิ่น ให้กับเยาวชนและคนในชุมชน ฯลฯ เมื่อความพยายามจากหน่งยงานต่างๆ ประสานเข้ากับการขานรับอย่างดีกับคนในชุมชน ตลาดสามชุกจึงยังคงรักษาวิถีเดิมที่ดีเอาไว้ หากจะเปรียบตลาดวัยร้อยปีแห่งนี้ เป็นคนตลาดสามชุกวันนี้มีท่าทีคล้ายคุณทวดสุดเท่ห์ ที่วันและวัยมิได้ผ่านมาเพียงเพื่อทำให้สังขารชราลงไปแต่ฝ่ายเดียว หากวันคืนอันยาวนานกว่าร้อยปีนั้น ได้แประผันกลั่นเป็นประสบการณ์และความมั่นคง
    
 3. วัดสามชุก

ประวัติวัดสามชุก
        ตั้งอยู่เลขที่ 3 หมู่ 1 ตำบลสามชุก มีพื้นที่ 20 ไร่ อยู่เหนือที่ว่าการจังหวัดสุพรรณบุรี 34 กิโลเมตร ห่างจากถนนสุพรรณบุรี - ชัยนาท 600 เมตร เป็นวัดเก่าแก่โบราณไม่ปรากฏหลักฐานว่าสร้างมาตั้งแต่สมัยใดมีสิ่งที่เป็นหลักฐานว่าเป็นวัดเก่า คือรอยพระพุทธบาทจำลองประดิษฐานในมณฑป กรมศิลปากรได้จดทะเบียนเป็นวัตถุโบราณ พระพุทธรูปซึ่งประดิษฐานในมณฑปเป็นพระพุทธรูปหินทรายสมัยอยุธยา ปัจจุบันปฏิสังขรณ์และนำมาประดิษฐานเป็นพระประธานบนศาลาการเปรียญ และยังมีหงส์สัมฤทธิ์ 1 คู่ อดีตตั้งอยู่หน้ามณฑป ปัจจุบันอยู่ที่หอสวดมนต์ 1 ตัวและที่กุฏิพิพิธภัณฑ์ 1 ตัว บริเวณหอสวดมนต์ประดิษฐานหลวงพ่อธรรมจักร พระพุทธรูปสมัยอู่ทอง ชาวบ้านนิยมมาสักการะบูชาเป็นพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์คู่กับวัดมาช้านาน
ประวัติหลวงพ่อธรรมจักร
            หลวงพ่อธรรมจักร เป็นพระพุทธรูปสมัยอู่ทองชาวบ้านมาสักการะบูชา เป็นพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์คู่วัดมานาทะเบียนวัดของสำนักงานศึกษาการอำเภอสามชุก ประมาณว่าสร้างราว พ.ศ. 2300 เดิมชาวบ้านเรียกว่า วัดอัมพวัน มาเปลี่ยนเป็น วัดสามชุก ภายหลังในใบวิสุงคามสีมา ซึ่งได้รับพระราชทานเมื่อครั้งสร้างอุโบสถหลังปัจจุบัน เมื่อ พ.ศ. 2481 ก็ปรากฎว่า ชื่อวัดสามชุกอำเภอสามชุก ยกฐานะเป็นอำเภอ เมื่อ พ.ศ. 2437 โดยชื่อตอนนั้นว่า อำเภอนางบวช เพราะตั้งอยู่ในเขตตำบลนางบวชพ.ศ. 2441 ได้ย้ายที่ว่าการอำเภอมาตั้ง ณ บ้านสามเพ็ง ตำบลสามชุกพ.ศ. 2454 ได้แบ่งตำบลในอำเภอนางบวชไปตั้งเป็นอำเภอเดิมบางแต่ยังใช้ชื่ออำเภอนางบวช จนถึง พ.ศ. 2481 จึงเปลี่ยนเป็นอำเภอสามชุก รอยพระพุทธบาทเป็นของเก่าคู่วัดมานาน ต่อมามีทายกชื่อ ก๋งกวย ซึ่งมีศรัทธาช่วยเหลือวัดอย่างแข็งแรงได้นำสร้างมณฑป เพื่อเป็นที่ประดิษฐานรอยพระพุทธบาท และทุกปีจะมีงานปิดทองรอยพระพุทธบาท มีการตามประทีปโคมไฟกันอย่างสว่างมากมาย โดยใช้ตะเกียงเจ้าพายุและตะเกียงสมัยโบราณ เมื่อ 25 ปี ก่อนที่จะบูรณะกุฎิยังมีปรากฎอยู่ แต่ปัจจุบันได้สูญหายไปผู้ดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสไม่มีปรากฎชื่อ จนถึงประมาณ พ.ศ. 2420 - 2450 มีอาจารย์ชื่น เป็นเจ้าอาวาส และเป็นพระอุ( นายผัน สรหงษ์ คือ บิดาของนางฟู ภู่ระหงษ์ ) จากนั้น ก็มีพระมาอยู่ดูแลรักษาการอยู่ชั่วคราว ไม่เป็นการถาวร จนกระทั่งถึงพระอาจารย์หน่าย และต่อมาพระอาจารย์แสงเป็นเจ้าอาวาส เพราะมีชาวบ้านรู้จักส่วนมาก ( การเป็นเจ้าอาวาสในสมัยนั้น เป็นการยกย่องกันเอง ไม่มีการแต่งตั้งเป็นทางการ ) จนถึง พ.ศ. 2470 พระมหาสมุนโอภาสี เป็นเจ้าอาวาสและเป็นเจ้าคณะตำบลสามชุกโรงเรียนวัดสามชุก ( หรือ ณ. ราษฎร์วิริยานุกูล ) เป็นโรงเรียนหลังแรกของอำเภอสามชุก ผู้ริเริ่มการสร้าง คือ พระมหาสมุน และกรรมการวัด ได้ดำเนินการก่อสร้างอุโบสถขึ้นใหม่ โดยสร้างที่เดิมของอุโบสถหลังเก่าที่ชำรุด ผนังอุโบสถใช้เทปูน ไม่ใช่ก่ออิฐพระมหาสมุน โอภาสี เป็นพระนักเทศน์ที่มีชื่อเสียง เป็นที่รู้จักของชาวบ้านส่วนมากพ.ศ. 2487 พระมหาสมุน ลาสิกขาบท การสร้างอุโบสถยังไม่แล้วเสร็จ ช่วงที่ว่างเจ้าอาวาส พระครูแคล้ว พิมพสิริ ได้มาดูแลรักษาการอยู่ 1 ปี ก็กลับวังหิน ระยะนี้เจ้าคณะหมวดได้ว่างลง คณะสงฆ์จังหวัดสุพรรณบุรีได้ส่งพระครูสุนทรานุกิจ ขณะนั้น คือ พระครูกริ่ง หโส เป็นเจ้าคณะหมวดโดยให้เลือกวัดที่ จะสังกัด 3 วัด คือ วัดสามชุก วัดคลองขอม วัดวังหิน ได้เลือกมาอยู่วัดสามชุก โดยเห็นว่าเป็นชื่อของอำเภอ ทั้งที่วัดสามชุกในสมัยนั้นทรุดโทรมกว่าวัดทั้ง 2 วัดพ.ศ. 2489 พระครูสุนทรานุกิจ รักษาการแทนเจ้าอาวาสวัดสามชุก และได้รับการแต่งคั้งเป็นเจ้าอาวาสวัดสามชุก เมื่อ พ.ศ. 2508ได้ก่อสร้างต่อเติม อุโบสถที่ยังไม่เสร็จ โดยมุงหลังคา และจัดงานปิดทองฝังลูกนิมิต    เมื่อ พ.ศ. 2493 พ.ศ. 2498 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระบรมราชินีนาถ ได้เสด็จทางเรือจะไปประทับที่ประตูน้ำสามชุก เมื่อผ่านมาถึงวัดสามชุก ได้เสด็จขึ้นทรงเยี่ยมวัดสามชุกพ.ศ. 2501 ได้ดำเนินการก่อสร้างหอสวดมนต์พ.ศ. 2509 ได้ก่อสร้างศาลาการเปรียญ ลักษณะทรงไทย ราคา 350,000 บาท และได้พัฒนาวัดให้เจริญ ขึ้นตามลำดับ
      พ.ศ. 2518 บูรณะอุโบสถ เปลี่ยนกระเบื้อง ทาสี สิ้นเงิน 150,000 บาท
      พ.ศ. 2522 ก่อสร้างหอพระธรรมจักร ราคา 354,000 บาท
      พ.ศ. 2523 สร้างฌาปนสถาน ราคา 450,000 บาท สร้างกำแพงรอบวัด ราคา 180,000 บาท
     พ.ศ. 2526 สร้างซุ้มประตู ราคา 91,000 บาท นอกจากพัฒนาภายในวัด ได้บริหารงานคณะสงฆ์อำเภอสามชุก จนกระทั่งอายุ 89 ปี ได้มรณภาพ เมื่อวันที่ 26 ธันวาคม พ.ศ. 2530
    พ.ศ. 2531 พระครูสุวรรณวิจิตร ได้รับแต่งตั้งเป็นเจ้าอาวาสวัดสามชุกพระครูสุวรรณวิจิตร ได้ย้ายมาจากวัดลาวทอง อำเภอเมืองฯ จังหวัดสุพรรณบุรี เมื่อวันที่ 1 มีนาคม 2518 ได้รับแต่งตั้งเป็นเลขานุการเจ้าคณะอำเภอสามชุก และเป็นผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดสามชุก เมื่อ พ.ศ. 2520
     พ.ศ. 2533 สร้างกุฏิ 1 หลัง ยาว 25 เมตร กว้าง 5 เมตร และโรงครัว รวมราคา 928,827 บาท
     พ.ศ. 2534 สร้างกำแพงอุโบสถ ราคา 392,298 บาท
     พ.ศ. 2535-2536 บูรณะปฏิสังขรณ์หอสวดมนต์ 1 หลัง กุฏิ 4 หลัง ลักษณะทรงไทย ราคา 1,687,160 บาท
     พ.ศ. 2538 สร้างสะพานแขวนข้ามแม่น้ำหน้าวัด ราคา 2,240,000 บาท
     พ.ศ. 2539 สร้างกุฏิลักษณะทรงไทย 8 หลัง กว้าง 2.50 เมตร ยาว 2.50 เมตร ราคา 900,000 บาท
     พ.ศ. 2540-2541 บูรณะศาลาการเปรียญ ยกพื้น ใช้ชั้นล่างเป็นศาลาอเนกประสงค์
     พ.ศ. 2532 สร้างศาลาปฏิบัติธรรม ราคา 780,000 บาท

                                                
 4. วัดบ้านทึง


ประวัติความเป็นมา

          วัดบ้านทึง อุทยานการศึกษาทางประวัติศาสตร์ของสามชุก ในปี พ.ศ. 2547 นี้คณะกรรมการเมืองสามชุก ได้วางแผนงานด้านสิ่งแวดล้อมขึ้นเพื่อพัฒนาปรับปรุงสิง่แวดล้อมของสามชุกให้ดีขึ้น โดยหนึ่งในแผนงานทั้งหมดนั้น ก็คือ “การปรับภูมิทัศน์วัดบ้านทึง” ขึ้น เพื่อให้เป็นอุทยานการศึกษาทางประวัติศาสตร์ที่สำคัญอีกแห่งหนึ่งของอำเภอสามชุก   วัดบ้านทึง ตั้งอยู่ในตำบลสามชุก อำเภอสามชุก จังหวัดสุพรรณบุรี เป็นวัดเก่าแก่ที่มีความสำคัญทางด้านประวัติศาสตร์ตามประวัติเล่าว่า วัดแห่งนี้ถูกสร้างขึ้นในรัชสมัยของพระเจ้าอู่ทอง ปฐมกษัตริย์แห่งกรุงศรีอยุธยา สมัยนั้นเกิดโรคห่าระบาดอย่างหนัก มีผู้คนล้มตายจำนวนมาก พระเจ้าอู่ทองจึงพาบริวารหนีออกจากเมืองหลวงเดินทางด้วยเกวียนพอมาถึงบ้านทึงแอกเกวียนได้หักลงเลยพากันหยุดซ่อมแซม และรอเป็นเวลาหลายวัน พระเจ้าอู่ทองสั่งให้สร้างวัดขึ้นในบริเวณนี้ 3 แห่งด้วยกัน คือ วัดบางแอก วัดรอ และวัดบ้านทึง กล่าวกันว่าคราวหนึ่งพระเจ้าอู่ทองสั่งให้บริการไปขอฟางจากขาวบ้านมาให้วัวกินแต่ชาวบ้านไม่ให้ต่อมาได้ส่งบริวารไปขอหนังสำหรับผูกแอกเกวียนชาวบ้านก็ไม่ให้อีก พระเจ้าอู่ทอง  จึงเรียกชาวบ้านแห่งนี้ว่าพวกบ้านขี้ทึ้ง (บ้านคนขี้เหนียว) เมื่อเวลาเปลี่ยนไปบ้านขี้ทึ้ง ก็เพี้ยนมาเป็นมาเป็น “บ้านทึง” อย่างที่ปรากฏอยู่ในปัจจุบัน
              เมื่อประมาณ พ.ศ. 2348 “สุนทรภู่” กวีเอกของเมืองไทย และของโลกได้เดินทางมาเที่ยวที่เมืองสุพรรณบุรี ความว่าท่านเดินทางมาหาแร่ชนิดหนึ่ง ท่านเรียกว่าปูนมารหรือปูนเพ็ชร เพื่อเอามาแปรธาตุให้เป็นทองคำตามความเชื่อของคนสมัยนั้น ท่านเชื่อว่ามีอยู่ในแขวงเมืองสุพรรณบุรีตอนเหนือ และเป็นที่มาของ “โคลงนิราศสุพรรณ” ผลงานชิ้นเอกอีกชิ้นหนึ่งของท่าน  ตามข้อความที่ปรากฎในโคลงนิราศสุพรรณ บอกว่าท่านสุนทรภู่พักค้างคืนอยู่ที่บ้านทึง ตามคำโคลงว่าอยู่ถึง 5 คน พบปะชาวบ้านขันปกหาแร่ไปในที่หลายแห่งๆ แล้วก็กลับมานอนค้างที่นี่ และเล่ากันว่าสุนทรภู่ได้เอาแร่มาแปรธาตุที่วัดบ้านทึงแห่งนี้นี่เอง โดยสถานที่ทำการเล่นแปรธาตุก็คือข้างวิหารพระนอนหรือพระไสยาสน์  ปัจจุบันวัดบ้านทึงอยู่ในสภาพทรุดโทรมอย่างยิ่ง ยังต้องมีการปรับปรุงซ่อมแมอีกมาก จึงจะมีสภาพที่สมบูรณ์ แต่ถึงกระนั้นก็ตาม วัดบ้านทึงก็ยังเป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่  ที่สำคัญอีกแห่งหนึ่งของอำเภอสามชุก ซึ่งมีนักท่องเที่ยวแวะเวียนมาเที่ยวชมอยู่เรื่อยๆ ภายในบริเวณวัดบ้านทึงมีโบราณวัตถุ และโบราณสถานที่สำคัญหลายอย่าง เช่น กุฏิไม้อายุกว่า 100 ปี ประมาณ 10 หละง พระพุทธรูปปางไสยาสน์หรือพระนอนสมัยอยุธยา วิหารโบราณ และหอไตรเก่าแก่สมัยอยุธยา เป็นต้น นอกจากนี้แล้ววัดแห่งนี้ยังมีความสงบร่มรื่น บริเวณวัดปกคลุมไปด้วยต้นไทรขนาดใหญ่หลายต้น มีนกยูงหลายตัวเดินไปมา บนต้นไม้มีกระรอกอยู่หลายสิบตัว ที่สำคัญที่นี่ยังมี “กระรอกเผือก” ซึ่งหาดูได้ยากอยู่ด้วย หากปรับปรุงภูมิทัศน์วัดบ้านทึง ที่คณะกรรมการเมืองสามชุกจัดทำขึ้นเสร็จสิ้นลงตามแผนที่วางไว้ วัดบ้านทึงก็จะเป็นวัดที่สะอาด สงบ ร่มรื่น และเป็นอุทยานการศึกษาทางประวัติศาสตร์ที่สำคัญอีกแห่งหนึ่งของอำเภอสามชุก
ตามประวัติบุคคลสำคัญที่มาวัดบ้านทึง (โพธิ์เงิน)
      1. พระสุนทรโวหาร (ภู่) ได้มาเอาแร่ที่คลองกระตั้วซึ่งติดกับวัดบ้านทึง (โพธิ์เงิน) ด้านทิศเหนือ
     2. ปี พ.ศ. 2459 สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส ได้เสด็จออกตรวจเยี่ยมวัดวาอารามต่างๆ มาตามสายแม่น้ำท่าจีน ทรงเสด็จขึ้นเยี่ยมวัดบ้านทึง (โพธิ์เงิน) 1 คืน พร้อมด้วยพระราชทานพระบรมฉายาลักษณ์ไว้ 1 พระรูป พร้อมลงลายพระหัตถ์ ซึ่งทางวัดได้เก็บรักษาไว้เป็นอนุสรณ์ถึงปัจจุบัน
     3. ปี พ.ศ. 2513 สมเด็จพระวันรัต (ป๋า) วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม กทม. เจ้าคณะใหญ่หนกลางรับกิจอาราธนา มาเป็นประธานงานมหาพุทธาภิเษก พระพุทธรูป และวัตถุมงคลต่างๆ และเยี่ยมวัด
     4. ปี พ.ศ. 2518 นายมนัส ปิติวงศ์ อธิบดีกรมชลประทาน เป็นประธานนำผ้ากฐินมาทอดถวายที่วัดบ้านทึง 1 ครั้ง
     5. ปี พ.ศ. 2520 พลเรือเอก สงัด ชลออยู่ หัวหน้าคณะปฏิรูปแผ่นดินฯ ได้มาร่วมงานฉลองเปรียญธรรม 9 ประโยค ของพระมหาประชุม เขมรโต สำนักเรียนวัดชนะสงคราม กทม. ซึ่งเป็นศิษย์ของวัดบ้านทึง
     6. ปี พ.ศ. 2520 พระธรรมปัญญาบดี ( ปัจจุบัน สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ ) วัดสามพระยา กทม. เจ้าคณะใหญ่หนกลาง รับกิจอาราธนามาแสดงธรรม ในงานฉลองเปรียญธรรม 9 ประโยค และมาเยี่ยมวัด
    7. ปี พ.ศ. 2529 นายสมัคร สถนทรเวช รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมเป็นประธานนำผ้ากฐินมาทอดถวายที่วัดบ้านทึง ถึง 2 ปี ติดต่อกันและเยี่ยมชมวัดด้วย
    8. ปี พ.ศ. 2536 สมเด็จพระพุทธชินวงศ์ วัดเบญจมบพิตรดุสิตวราราม กทม. เจ้าคณะใหญ่ทนเหนือ แม่กองบาลีสนามเหนือ กรรมการมหาเถรสมาคม รับกิจอาราธนามาเป็นประธานพิธีมหาพุทธาภิเษกพระพุทธรูปและวัตถุมงคลและเยี่ยมวัด
    9. ปี พ.ศ. 2536 วันที่ 17 มกราคม 2536 สมเด็จพระมหาธีราจารย์ วัดชนะสงครามฯ กทม. เจ้าคณะใหญหนใต้ กรรมการเถรสมาคม รับกิจอาราธนามาเป็นประธานพิธี ยกช่อฟ้าศาลาการเปรียญและเยี่ยมวัด
    10.ปี พ.ศ. 2538 พระวิสุทธิวงศาจารย์ วัดเทพธิดาราม กทม. เจ้าคณะภาค 14 รับกิจอาราธนามาเป็นประธานเปิดศูนย์พุทธภาวนาวิชชาธรรมกาย ณ วัดบ้านทึง (โพธิ์เงิน) ในวันที่ 1 มีนาคม 2538 เพื่ออบรมพระภิกษุ อุบาสก อุบาสิกา และสาธุชน ผู้ที่มาถือมาเนกขัมมะ (ชีพราหมณ์) ปฏิบัติธรรม ภาวนา เพื่อเทิดพระเกียรติ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงเสด็จเสวยสิริราชสมบัติครองราชย์ครบ 50 พรรษา

                                  
 5. วัดหนองผักนาก

ประวัติวัดหนองผักนาก
            วัดหนองผักนาก มีมาแต่เมื่อใดไม่ปรากฏ ตามหลักฐานที่พบคือ เมื่อ พ.ศ. 2506 คณะกรรมการวัดหนองผักนากได้สร้างพระอุโบสถหลังใหม่แทนหลังเก่าซึ่งชำรุดทรุดโทรมมาก และได้ย้ายพระประธานในพระอุโบสถหลังเก่าเพื่อไปประดิษฐานในพระอุโบสถหลังใหม่พร้อมกันนั้นได้ขุดหลุมนิมิตและเสมาทั้ง 8 ทิศด้ว ปรากฏว่าพบเบี้ยจั่นเป้นจำนวนมาก และเงินพดด้วง ซึ่งคนทั่วไปเรียกกันว่า เงินกลมจำนวนอีกเล็กน้อย จึงสันนิษฐานว่าสร้างราวต้นกรุงรัตนโกสินทร์ เพราะทางการได้ยกเลิกการใช้เบี้ยจั่นเมื่อสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 และสั่งเครื่องจักรกลมาทำเงินพดด้วงเมื่อ พ.ศ. 2403 ชาวบ้านจึงได้นำเงินมาใส่หลุมนิมิต เพราะเป็นการสิ้นสุดการใช้เบี้ยจั่น   บ้านหนองนากเดิมเรียกว่า “หนองพักนาก” เล่าต่อๆ กันมาว่า ประเพณีที่สืบทอดกันมาคือ ผู้ที่นับถือศาสนาพุทธ เมื่อบุตรหลานอายุครบ 20 ปี บริบูรณ์ และนิยมจัดงานบวชในฟดูแล้งโดยมีการานัดหมายกันหลายๆ นาค การแห่นาคไปวัดนั้น ใครมีช้างก็นำขึ้นช้าง หากไม่มี ก็จ้างหรือวานกัน ใครมีม้าก็ขี่ม้าเข้าขบวนกันไป ใครไม่มีก็เที่ยวขับม้าที่หากินอยู่เป็นฝูงบริเวณนั้นมาขี่เข้าขบวนไปด้วย ก่อนเข้าวัดจะหยุดขบวนแห่ นำนาคลงจากหลังช้าง แล้วเล่นม้าล่อช้างกัน คนขี่ม้าจะขับม้าเข้าไปใกล้ช้าง แล้วคนขี่ช้างจะไสช้างเข้าเข้าขับ ม้าจะวิ่งหนีสุดฤทธิ์ บางรายเล่นพิศดาร เอามือปิดตาม้าไว้แล้วเรียกคนขี่ช้างเข้ามาใกล้ๆ พร้อมกับเปิดตาม้าออก เมื่อม้าเห็นช้างอยู่ใกล้จะออกวิ่งหนีด้วยความกลัว บางรายตกหลังม้าแข้งขาเพลง แต่ก็เล่นกันอย่างสนุกสนาน ม้าที่จับเอามาเล่นล่อช้าง สนุกสนานพอสมควรแล้วนำนาคเข้าวัด จะพักเหนื่อยกัน ณ ศาลาต้นหนองน้ำใหญ่หน้าวัด ( ต่อมาชาวบ้านขุดสระน้ำ สภาพหนองน้ำจึงหมดไป หนองน้ำแห่งนี้จึงเรียกกันว่า “หนองพักนาก” ต่อมาเพี่ยนเป็น “หนองผักนาก” จนถึงปัจจุบัน
ภูมิปัญญาท้องถิ่น ที่ยังคงเหลือให้เห็นร่องรอยเกี่ยวกับวัฒนธรรมของชาวบ้านหนองผักนาก ได้แก่
         1. การร้องเพลงพิษฐานในวันสงกรานตื
         2. แกงน้ำพริกจิ้ม


                                                        
 6. วัดลาดสิงห์



ประวัติความเป็นมา
      วัดลาดสิงห์ เป็นวัดเก่าแก่ ตั้งอยู่หมู่ที่ 5 ตำบลบ้านสระ อำเภอสามชุก จังหวัดวุพรรณบุรี อยู่ห่างจากอำเภอสามชุก และพระบรมราชานุสรณ์ดอนเจดีย์ อำเภอดอนเจดีย์ ประมาณด้านละ 7 กิโลเมตร ตามทำเนียบวัดและโบราณสถานจังหวัดสุพรรณบุรีระบุว่า วัดลาดสิงห์ตั้งเมื่อ พ.ศ. 2009 อยู่ในสมัยกรุงศรีอยุธยารวมรัยัเวลาที่นับจากปีที่ตั้งวัดแล้ว เป็นเวลาถึง 538 ปี ตามตำนานของวัดได้กล่าวไว้ว่าหลังจากที่พระบาทสมเด็จพระนเรศวรมหาราชทรงกระทำยุทธหัตถีมีชัยต่อพระมหาอุปราชาเมื่อ พ.ศ. 2135 และทราบว่าพระสุพรรณกัลยาพระพี่นางที่เป็นองค์ประกัน อยู่ที่กรุงหงสาวดี ถูกประหารชีวิตด้วยพระแสงดาบของพระเจ้านันทบุเรง เป็นการล้างแค้นที่พระมหาอุปราชาสิ้นพระชนม์ด้วยพระแสงของ้าวของพระองค์ สมเด็จพระนเรศวรมหาราชจึงเสด็จมาบูรณะปฏิสังขรณ์วัดลาดสิงห์ เพื่อถวายเป็นราชกุศลแด่พระสุพรรณกัลยา และได้ยกฐานะวัดลาดสิงห์เป็นพระอารามหลวงในสมัยนั้น  จากคำเล่าขานของคนเก่าแก่ในหมู่บ้านเล่าว่า เดิมวัดลาดสิงห์มีชื่อว่า วัดราชสิงห์ ซึ่งหมายความถึงสิงห์ของพระราชา ติ่มาเรียกเพี้ยนเป็นวัดลาดสิงห์มาเป้นเวลาช้านาน และมีเรื่องเล่าสืบต่อกันมาว่าสถานที่บริเวณวัดลาดสิงห์นี้ เคยเป็นที่พักทัพของสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ซึ่งเดิมภายรอบบริเวณวัดมีสระน้ำรายรอบเป็นจำนวนมาก ( ปัจจุบันได้ทำการถมที่ดินไปมากเพื่อเพิ่มพื้นที่ใช้สอย ) ในการเดินทัพมาครั้งนั้นได้มีพนักงานกองเสบียงอาหารเดินทางติดตามมาด้วย ส่วนมากเป็นชาวลาวเวียงจันทร์ ปัจจุบันนี้ยังมีอาศัยอยู่ด้านตะวันตกของวัดมีชื่อเรียกว่า “หมู่บ้านลาว” คำบอกเล่าครั้งสุดท้ายที่เล่าสืบต่อกันมาหลายชั่วอายุคนนี้เป็นของนางจัน พลายระหาร อายุ 96 ปี ซึ่งเป็นลูกหลานชาวเวียงจันทร์โดยกำเนิดปัจจุบันเสียชีวิตไปแล้ว
        ปัจจุบันวัดลาดสิงห์เป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ และสถานที่ท่องเที่ยวที่สำคัญของจังหวัดสุพรรณบุรี มีชาวสุพรรณบุรีและประชาชนทั่วไปจำนวนมาก เดินทางมากราบนมัสการหลวงพี่อดำ และถวายสักการะพระบรมรูปสมเด็จพระนเรศวรมหาราช สมเด็จพระเอกามศรถ และพระสุพรรณกัลยา ที่วัดลาดสิงห์อย่างไม่ขาดสาย

สถานที่สำคัญภายในวัด
      อุโบสถ    เป็นอาคารรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า ด้านนอกมีบเสมาหินทรายอยู่ตามทิศต่างๆ เป็นใบเสมาแบเรียบไม่มีลวดลาย ด้านนอกสุดมีกำแพงแก้วก่อล้อม มีทางเข้าเฉพาะด้านหน้าโดยเป็นกำแพงแก้วเดิมที่ยังไม่มีการบูรณะซ่อมแซม ภายนอกกำแพงแก้วมีเนินดินปนอิฐขนาดใหญ่ สันนิษฐานว่าอาจเป็นเจดีย์ตั้งอยู่แต่มีเพียงฐานล่างที่พังทลายจนไม่ทราบรูปทรง ด้านบนมีชิ้นส่วนพระพุทธรูปหินทรายขาว พระเพลาแตกหักวางกองอยู่ จากรูปแบบศิลปกรรมสมัยอยุธยา   ภายในอุโบสถมีพระพุทธรูปหินทรายหน้าตักกว้างประมาณ 6 ศอก ชาวบ้านเรียก “หลวงพ่อดำ” ( เรียกตามพระนามของสมเด็จพระนเรศวรมหาราช คือ พระองค์ดำ ) มีลักษณะเป็นพระพุทธรูปแบบอู่ทอง คือ พักต์รูปเหลี่ยมขนงต่อกันดูคล้ายรูปปีกกา  โอษฐ์หนา นลาฏกว้าง มีขอบไรศก รัศมีรูปดอกบัวตูมประทับขัดสามธิราบ ( คือ ประทับนั่งขัดพระเพลาโดยเห็นฝ่าพระบาทหงายขึ้นเพียงข้างเดียว ) พระหัตถ์แสดงปางมารวิชัย คือ พระหัตถ์ซ้ายวางหงายที่หน้าเพลา (หน้าตัก) พระหัตถ์ขวาวางพาดที่ที่ชงฆ์ (เข่า) ทรงครองจีวรเฉียง ชายจีวร (สังฆาฏิ) เป็นแผ่นใหญ่ปลายตัดตรง “หลวงพ่อดำ” ถือเป็นพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์ประจำวัดลาดสิงห์ เป็นที่เคารพเลื่อมใสของพุทธศาสนิกชนทั้งในจังหวัดสุพรรณบุรีและประขาชนทั้วไปจำนวนมาก ด้านหน้าอุโสถมีสระน้ำเก่าแก่ขนาดใหญ่ ซึ่งชาวบ้านเชื่อและเล่าสืบต่อกันมาว่าในสระน้ำนี้มีระฆังขนาดใหญ่อยู่ภายใต้สระและมีคำจารึกอยู่บนระฆังใบนั้นด้วย

       พระบรมรูปสมเด็จพระนเรศวรมหาราช สมเด็จพระเอกาทศรถ และพระสุพรรณกัลยา  พระครูศาสนกิจจาภรณ์ เจ้าคณะตำบลบ้านสระ (ชั้นเอก) เจ้าอาวาสวัดลาดสิงห์รูปปัจจุบันได้ร่วมกับสาธุชนคนไทยทั้งจังหวัดสุพรรณบุรี และจังหวัดพิษณุโลกอันเป็นถิ่นพระราชสมภพของทั้งสามพระองค์โดยมีพระครูสุวิธานศาสนกิจ (ไพรินทร์) ผศ.สมบัติ นพรัตน์ คณบดีบัณฑิตวิทยาลัย อาจารย์ไพโรจน์ เทพวัลย์ จากมหาวิอทยาลัยนเรศวร อาจารย์ขวัญทอง สอนศิริ ได้ร่วมกันจัดหาทุนก่อสร้างพระบรมรูปขึ้นเพื่อเทิดพระเกีรยติและเผยแพร่พระเกียรติคุณของสมเด็จพระนเรศวรมหาราช สมเด็จพระเอกาทศรถ และพระสุพรรณกัลยาให้เป็นเยี่ยงอย่างของชาวไทยในด้านความเสียสละ ความกล้าหาญ ควารักชาติแผ่นดิน โดยในปี พ.ศ. 2536 ได้สร้างพระบรมรูปจำลองขนาดเท่าองค์จริงของสมเด็จพระนเรศวร สมเด็จพระเอกาทศรถ และพระสุพรรณกัลยาขึ้น ปั้นหล่อโดยอาจารย์ธวัชชัย ศรีสมเพ็ชร มีนายกรนก บุญโพธิ์เกิด นายชิน ประสงค์จากกรมศิลปากร เป็นผู้ควบคุมและให้คำปรึกษา ซึ่งการประกอบพิธีวางศิลาฤกษ์พระแท่นที่ประดิษฐานพระบรมรูปได้ทำขึ้นเมื่อวันที่ 22 ธันวาคม 2536 โดยมีนายอำนวย ยอดเพชร ผู้ว่าราชการจังหวัดสุพรรณบุรีในสมัยนั้นเป็นประธานในพิธี และได้ทำการตกแต่งถูมิทัศน์รอบพระบรมรูปให้สวยงามสมพระเกียรติ แล้วเสร็จเมื่อ พ.ศ. 2538 ค่าก่อสร้างทั้งสิ้น ประมาณ 2,500,000 บาท

      พุทธเจดีย์  คณะกรรมการดำเนินการจัดสร้างโดยการนำของพลเอกอู้ด เบื้องบน ปลัดกระทรวงกลาโหม และพลตรีหญิงวรนุช เบื้องบน ได้ดำเนินการจัดสร้างพุทธเจดีย์พระพุทธนเรศวรเมตตา พระพุทธกัลยามิ่งมงคล บริเวณวัดลาดสิงห์ ตำบลบ้านสระ อำเภอสามชุก จังหวัดสุพรรณบุรี ซึ่งเชื่อว่าเป็นสถานที่ที่สมเด็จพระนเรศวรมหาราชได้เสด็จมาบูรณะปฏิสังขรณ์วัดเพื่อถวายเป็นพระราชกุศลแด่พระสุพรรณกัลยาพระพี่นาง หลังจากทรงกระทำยุทธหัตถีมีชัยต่อมาพระมหาอุปราชา

    อาคารพระสุพรรณกัลยา  เป็นอาคารทรงไทยประยุกต์สร้างขึ้นโดยแพทย์หญิงนลินี ไพบูลย์ ประธานกรรมการบริษัท กิฟฟารีสกายไลน์ ยูนิตี้ จำกัด และมีผู้มีจิตศรัทธาทั่วประเทศ ซึ่งมีความเทิดทูลและศรัทธาในความเสียสละของพระสุพรรณกัลยา เป็นอาคารเอนกประสงค์เพื่อใช้ในการประกอบศาสนพิธีต่างๆ ใช้ในกรเรียนปริยัติธรรมและการเรียนการสอนคอมพิวเตอร์สำหรับพระภิกษุ สามเณร มีการออกแบบตกแต่งสถานที่ ปละบริเวณโดยรอบอย่างสวยงามเหมาะสำหรับการปฏิบัติธรรม
งานประจำปีวัดลาดสิงห์
งานทำบุญปิดทองหลวงพ่อดำวัดลาดสิงห์
         เป็นงานประเพณีสืบต่อกันมาแต่โบราณ มีงานปีละ 2 ครั้ง คือ แรม 2 ค่ำ ถึง 3 ค่ำเดือน 4 และแรม 2 ค่ำถึง 3 ค่ำเดือน 12 ของทุกปี ประชาชนชาวสุพรรณบุรีและจังหวัดต่างๆ ที่มีความเคารพศรัทธาจะเดินทางมาสักการะหลวงพ่อดำเป็นจำนวนมาก ภายในงานจะมีการทำบุญปิดทองไหว้พระและมีมหรสพมากมาย
งานรับขัญหลวงพ่อดำวัดลาดสิงห์
       กำหนดจัดงานในวัน ขึ้น 15 ค่ำเดือน 6 ของทุกปี การจัดงานรับขวัญหลวงพ่อดำนี้ จัดขึ้นเนื่องจากในอดีตได้เกิดฟ้าผ่าที่หลังคาอุโบสถั้ประดิษฐานหลวงพ่อดำ ทางวัดและประชาชนที่มีความเคารพศรัทธาจึงได้จัดงานรับขวัญหลวงพ่อดำขึ้น และตั้งแต่นั้นมา ก็ไม่เคยเกิดเหตุการณ์แบบนั้นอีกเลย

                                                        
 7. วัดดอนไร่


ประวัติวัดดอนไร่
                ตั้งอยู่หมู่ ๑ ต.หนองสะเดา อ.สามชุก ตั้งวัดเมื่อ พ.ศ. ๒๔๖๕ พื้นที่ตั้งวัด ๑๓ ไร่ ๖๔ ตารางวาได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาเมื่อ พ.ศ. ๒๕๑๐ เจ้าอาวาสปัจจุบันพระครูสิทธิปัญญากร ธนปญโญ อายุ ๔๐ ปี ๑๙ พรรษา เป็นเจ้าคณะตำบลเป็นวัดที่ตั้งบรรจุศพพระครูสุวรรณวุฒาจารย์ (หลวงพ่อมุ่ย) มรณะภาพเมื่อ พ.ศ.๒๕๑๗ เป็นเกจิอาจารย์ที่มีชื่อเสียง องค์หนึ่งของประเทศไทย และเป็นที่เคารพสักการะของประชาชนทั่วไป
               พระครูสุวรรณวุฒาจารย์ (หลวงพ่อมุ่ย) พระเกจิอาจารย์ดังของเมืองสุพรรณในอดีตที่จัดอยู่ในระดบแนวหน้าอีกท่านหนึ่งคือ หลวงพ่อมุ่ย(พระครูสุวรรณวุฒาจารย์) ฉายาพุทธรักขิโต อดีตเจ้าอาวาสวัดดอนไร่รูปที่ 3 เกิดเมื่อวันพฤหัสบดีที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2432 ตรงกับวันขึ้น 13 ค่ำเดือนอ้าย ปีฉลู สมัยรัชกาลที่ 5 เดิมนั้นหลวงพ่อใช้ชื่อเชื่อม สอดคล้องกับพี่น้องของท่านที่มีนามมาจากขนมโดยพี่ชายของท่านชื่อช่อง มาจากลอดช่อง หลวงพ่อชื่อเชื่อมมาจากน้ำเชื่อม ชื่อมุ่ยมาใช้ในภายหลังเพราะลักษณะของท่านเป็นคนสุขุม เรียบง่าย ไม่ชอบพูดคุย ชาวบ่านจึงเรียกนามท่านว่าหลวงพ่อมุ่ยมาจนถึงปัจจุบัน
             หลวงพ่อมุ่ยเป็นศิษย์เอกของหลวงพ่ออิ่มวัดหัวเขา อำเภอเดิมบางนางบวช จังหวัดสุพรรณบุรี ขณะเดียวกันหลวงพ่ออิ่มก็เป็นศิษย์ของหลวงปู่ศุข วัดปากคลองมะขามเฒ่า จังหวัดชัยนาท ต่อมาหลวงพ่ออิ่มได้พาหลวงพ่อมุ่ยไปฝากตัวเป็นศิษย์หลวงปู่ศุขด้วยกัน  นามว่าพุทธรักขิโตรูปนี้ จะได้เป็นแบบอย่างแห่งความดีเท่าที่พระภิกษุสงฆ์รูปหนึ่งพึงจะมีแด่สาธุชนทั้งหลายตราบนานเท่านาน หลวงพ่อมุ่ยได้มรณภาพเมื่อวันที่ 15 มกราคม 2517 สิริรวมอายุ 86 ปี
งานประจำปีวัดดอนไร่
       วัดดอนไร่จะมีงานประจำปีทำบุญปิดทองรูปเหมือนหลวงพ่อมุ่ย ระหว่างวันที่ 14–16 มกราคม ของทุกปี ในงานจะมีการปิดทองไหว้พระ และมหรสพ มากมาย เช่น ลิเก ภาพยนตร์ เพลงอีแซว หนังตะลุง ช่วงกลางวันจะมีการแข่งขันกีฬา เช่น เซปัคตะกร้อ วอลเลย์บอล ฟุตบอล


8 . การจักสานท่าบ้านเก่า


ประวัติกลุ่มจักสาน

หัตถกรรมประเภท การจักสานหวาย
ชื่อหมู่บ้าน ท่าบ้านเก่า หมู่ที่ 2 ตำบลบ้านสระ จังหวัดสุพรรณบุรี
โทรศัพท์ 086-0794457
                                        ประวัติความเป็นมาของกลุ่มและผลิตภัณฑ์
              ก้าวแรกของการเกิดกลุ่มจักสานหวายท่าบ้านเก่า ได้ริเริ่มจากโครงการสวนครัวรั้วกินได้ และโครงการเยาวชนคนดีศรีสุพรรณ จากโครงการดังกล่าวทำให้ชาวบ้านเกิดความรัก ความสามัคคี และการเสียสละ จึงได้มีการรวมกลุ่มสร้างอาชีพเพิ่มรายได้ให้กับครอบครัว โดยมร นางทองปลิว บัวปรอด เป็นประธานและแกนนำหลักในการจัดตั้งกลุ่มและมี นายดำรง นิตสุวรรณ เป็นผู้ประสานงานและให้ทาง กศน.อำเภอสามชุก เข้ามาดำเนินการจัดการเรียนการสอนการจักสานเบื้องต้น ร่วมกับศูนย์อุตสาหกรรมตะวันตก ภาค 8 จังหวัดสุพรรณบุรี ดำเนินการฝึกอบรมการออกแบบผลิตภัณฑ์ และความโชดีอีกอย่างหนึ่งคือ ภูมิปัญญาท้องถิ่นที่เข้ามามีส่วนร่วมนการดำเนินงานกิจกรรมดังกล่าวจนเกิดกลุ่มอาชีพเล็กๆ ต่อมาก็ได้รับความช่วยเหลือและสนับสนุนจาหน่วยงานภาครัฐในด้านต่างๆ อาทิ เช่น พัฒนาชุมชนอำเภอสามชุก สำนักงานเกษตรอำเภอสามชุก ธนาคาร ธกส. อบต.ตำบลบ้านสระ และอื่นๆ จนกลุ่มสามารถพึ่งพาตนเองได้และได้รับผลิตภัณฑ์สินค้า OTOP ระดับ 3 ดาว ซึ่งจากผลงานด้านหัตถกรรมการจักสานนี้เอง กลุ่มจักสานท่าบ้านเก่า จึงเป็นแหล่งเรียนรู้และศึกษาดูงาน ทั้งภายในจังหวัดและต่างจังหวัดอย่างสม่ำเสมอ นอกจกนี้ยังได้รับการตรวจเยี่ยมจาก พณฯ ท่านบรรหาร ศิลปอาชา ในโครงการเยาวชนคนดีศรีสุพรรณ ได้ชื่นชนผลิตภัณฑ์ว่ามีความประณีต สวยงาม พิถีพิถันและได้กล่าวกับประธานกลุ่มและสมาชิกว่าให้อนุรักษ์และรักษาไว้ซึ่งภูมิปัญญาไทยให้ลูกหลานจนถึงทุกวันนี้